บทความ

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ที่มหาวิทยาลัยบอนน์

รูปภาพ
    ในภาคการศึกษาฤดูร้อน ปี 2018 ผมได้เริ่มเขียนวิทยานิพนธ์เพื่อที่จะได้จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากเยอรมัน ผมได้เลือกหัวข้อเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและกฎหมายข้ารัฐการ โดยหัวข้อที่ผมทำคือ Konkurrentenschutz im beamtenrechtlichen Beförderungsverfahren แปลเป็นไทยก็คือ การคุ้มครองสิทธิของผู้สมัครในกระบวนการเลื่อนตำแหน่งตามกฎหมายข้ารัฐการ ปัญหาคร่าว ๆ ของหัวข้อนี้ คือ ผู้ที่ไม่ได้รับเลือกในกระบวนการเลื่อนตำแหน่งจะไม่สามารถฟ้องเพิกถอนการแต่งตั้งของอีกคนได้ แม้ว่าคุณสมบัติของอีกคนจะต่ำกว่าตนเองก็ตาม โดยศาลปกครองแห่งสหพันธ์ได้ยืนยันหลักความมั่นคงของตำแหน่งมาตลอดตั้งแต่ปี 1965 จนถึง ปี 2003 แต่ในปี 2010 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครอง และการแต่งตั้งก็ถูกเพิกถอนเป็นครั้งแรก ผมก็เลยสนใจที่จะศึกษาหลักความมั่นคงของตำแหน่งว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่      ผมลงทะเบียนเขียนวิทยานิพนธ์ในเดือนพฤษภาคม เวลาในการเขียนงานรวมทั้งสิ้นสามเดือน งานเขียนไม่ควรยาวเกิน 50 หน้า แต่ผมเขียนเกินไป 4 หน้า แต่ก่อนหน้าที่จะลงทะเบียนผมได้ทำการ...

การเขียนงานวิชาการในหลักสูตร LL.M. ที่มหาวิทยาลัยบอนน์

รูปภาพ
      ตอนนี้ผมก็สอบทุกวิชาในเทอม 2 หมดเรียบร้อยแล้ว ก็เลยมีเวลามานั่งเขียนเรื่องการเรียนปริญญาโททางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัยบอนน์ต่อครับ เทอม 2 นี้ ผมก็เรียน 3 วิชา ได้แต่ กฎหมายพลังงาน 1 กฎหมายว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อย และกฎหมายวิธิพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ แต่ลงสอบแค่ 2 วิชาคือ กฎหมายพลังงาน กับกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสงบเรียบร้อย แต่ที่พิเศษในเทอมนี้ คือ ต้องมีการทำงานวิชาการ 1 ชิ้น หรือรายงานที่เรียกกันในภาษาเยอรมันว่า Seminararbeit ก็เลยอยากจะเอามาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับขั้นตอนการเขียนงานที่มหาวิทยาลัยบอนน์              ก่อนที่จะเริ่มต้นเขียนสัมมนา เราจะต้องเลือกหัวข้อสัมมนาที่สัมพันธ์กับสาขาที่เราเรียนและไปในแนวทางเดียวกับเรื่องที่คาดว่าจะทำวิทยานิพนธ์ด้วย เช่น ผมอยากทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกฎหมายปกครองและกฎหมายข้ารัฐการ ผมก็ทำสัมมนาเรื่องเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของข้ารัฐการเยอรมัน พอได้หัวข้อแล้ว เราก็ต้องรอให้มี Professor ประกาศผ่านทางหน้าเว็บของคณะว่า มีอาจารย์ท่านใดรับทำหัวข้อไหนบ้าง อย่างกรณีขอ...

ระบอบการปกครองของนาซีเยอรมัน

ก่อนจะมาเรียนที่เยอรมนี แม้ว่าผมจะมีความรู้เกี่ยวกับการปกครองของนาซีเยอรมันอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าการปกครองของนาซีนั้นมันแตกต่างจากระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างไร และไม่สามารถทำความเข้าใจได้ไกลกว่านั้น แต่พอมาเรียนที่นี่ ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้มากขึ้นทำให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างเผด็จการโดยทั่วไปกับนาซีเยอรมันมากขึ้น ก็เลยคิดว่าเอามาแปลและเผยแพร่เพื่อสร้างความเข้าใจให้คนทั่วไปน่าจะเป็นการดี ข้อเขียนนี้แปลมาจากหนังสือ Verfassungsgeschichte, Fortscher/Pierot, 15 Auflage และ Deutsche Verfassungsgeshichte , Dietma Willoweit, 5 Auflage  ลำดับเหตุการณ์  ก่อนอื่นต้องไล่ลำดับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์เสียก่อน 30 มกราคม ปี 1933 ฮิตเลอร์ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีฮินเดนบวร์กให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าฮิตเลอร์ไม่ได้ชนะการเลือกตั้งจนได้รับเลือกจากรัฐสภาให้เป็นนายรัฐมนตรี เพราะก่อนหน้านั้นระบบรัฐสภาถูกทำลายลงด้วยอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี ทำให้รัฐบาลไม่ขึ้นกับรัฐสภาแต่กลับไปขึ้นกับประธานาธิบดีแทน ประธานาธิบดีจึงกลา...

Gutachtenstil การเขียนตอบข้อสอบกฎหมายแบบเยอรมัน

ปลายเดือนเมษายน 2017 เป็นสัปดาห์ที่ 2 ของการเปิดเทอม เป็นช่วงเวลาที่นักศึกษาทุกคนจะต้องเข้าร่วมชั้นเรียนที่เรียกว่า Arbeitsgemeinschaft เป็นชั้นเรียนที่คล้ายกับชั่วโมงสัมมนาที่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่ในชั้นเรียนนี้ของเยอรมันจะแตกต่างออกไป ในชั้นเรียนนี้จะมีนักศึกษาปริญญาเอกหรือคนที่จบปริญญาเอกมาแล้วและทำงานช่วยศาสตราจารย์อยู่มาสอน ในชั้นเรียนนี้นักศึกษาจะได้ฟังการสรุปคำบรรยายแบบย่อๆ และได้ฝึกการเขียนตอบข้อสอบ ซึ่งรูปแบบในการเขียนตอบข้อสอบนี้จะเรียกว่า Gutachtenstil คำนี้ไม่รู้ว่าจะแปลเป็นไทยอย่างไรดี เอาเป็นว่าไปดูลักษณะของการเขียนตอบข้อสอบกันดีกว่า ว่าแตกต่างจากของไทยอย่างไรบ้าง Gutachtenstil ประกอบด้วยหลายส่วนแยกย่อยไปตามความเฉพาะเจาะจงของวิชา ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างของวิชากฎหมายปกครองก็แล้วกันนะครับ ในกฎหมายปกครอง ข้อสอบก็จะออกเกี่ยวกับข้อพิพาทในทางกฎหมายปกครอง และถามว่าจะไปฟ้องศาลได้หรือไม่ และฟ้องศาลใด เช่น นาย ก. ต้องการสร้างบ้าน จึงไปขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคารกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่นายกเทศมนตรีเห็นว่าคำขอของนาย ก. นั้นไม่อา...

หลักสูตร LL.M. Master Deutsches Recht ณ มหาวิทยาลัยบอนน์

รูปภาพ
อาคารบริหารแห่งมหาวิทยาลัยบอนน์              ปี 2017 ผมได้เริ่มเข้าศึกษาในระดับชั้นปริญญาโททางด้านนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยบอนน์ในภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยได้เลือกแผนการศึกษาเน้นหนักไปทางด้านกฎหมายมหาชน อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนในฐานะที่รัฐมีอำนาจเหนือกว่า จึงอยากจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรและมหาวิทยาลัยเก็บไว้เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นต่อไป Kirschblüten หรือเทศกาลดอกเชอรี่บานอันโด่งดังของเมืองบอนน์  เริ่มจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก มหาวิทยาลัยบอนน์ มีชื่อเต็มๆ ว่า   Die Rheinische Friedrich-Wilhelms-Universität Bonn ชื่อของมหาวิทยาลัยถูกตั้งตามชื่อของกษัตริย์ปรัสเซียนามว่า Friedrich Wilhelm ที่สาม เมืองบอนน์ตั้งอยู่ในมลรัฐ Nordrhein-Westfalen ที่อยู่ในฝั่งตะวันตกของเยอรมนีติดกับชายแดนเนเธอแลนด์ นักปรัชญาและนักการเมืองชาวเยอรมันหลายคนก็เคยได้มาศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ เช่น นิชเช่ หรือ คาร์ล มาร์กซ หรือ คอนราด อเดเนาเออ มหาวิทยาลัยบอนน์ไม่ได้มีอาคารเรียนท...